เมนู

ด้วยองค์ 9 เป็นไฉน ? ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ 9 เหล่านี้ คือ
เขาต้อนรับด้วยความพอใจ, อภิวาทด้วยความพอใจ, ให้อาสนะด้วย
ความพอใจ, ไม่ซ่อนของที่มีอยู่ของเขาไว้, เมื่อของมีมาก ก็ให้มาก,
เมื่อมีของประณีต ก็ให้ของประณีต, รู้โดยเคารพ ไม่ให้โดย
ไม่เคารพ, เข้าไปนั่งใกล้เพื่อฟังธรรม, เมื่อกล่าวธรรมอยู่ เขาก็ยินดี
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ 9 เหล่านี้แล ภิกษุยังไม่
เข้าไป ก็ควรเข้าไป และครั้นเข้ารูปแล้ว ก็ควรนั่งใกล้"
ดังนี้แล้ว
จึงตรัสว่า " มหาบพิตร สาวกของอาตมภาพ เมื่อไม่ได้ความคุ้นเคย
จากสำนักของพระองค์ จึงจักไม่ไป ด้วยประการฉะนี้แล; แท้จริง
โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย แม้เขาบำรุงอยู่ด้วยความเคารพในที่ ๆ ไม่คุ้น
เคย ถึงเวทนาแทบปางตาย ก็ได้ไปสู่ที่ของผู้คุ้นเคยกันเหมือนกัน. อัน
พระราชาทูลถามว่า ในกาลไร ? พระเจ้าข้า " ทรงนำอดีตนิทานมา
( สาธกดังต่อไปนี้ ) :-

เรื่องเกสวดาบส


ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติในพระนคร
พาราณสี พระราชาทรงพระนามว่าเกสวะ ทรงสละราชสมบัติผนวชเป็น
ฤาษี. บุรุษ 500 คน (ออก) บวชตามพระราชานั้น. ท้าวเธอได้
พระนามว่าเกสวดาบส. อนึ่ง นายภูษามาลาของพระองค์ก็ได้ตามบวช
เป็นอันเตวาสิกนามว่ากัปปกะ เกสวดาบสกับบริษัทอาศัยอยู่ในหิมวันต-
ประเทศสิ้น 8 เดือน ในฤดูฝน เพื่อต้องการเสพรสเค็มและรสเปรี้ยว
ไปถึงกรุงพาราณสีแล้ว เข้าไปสู่พระนครเพื่อภิกษา, ลำดับนั้น พระราชา

ทอดพระเนตรเห็นดาบสนั้น ทรงเลื่อมใส. ทรงรับปฏิญญาเพื่อประโยชน์
แก่การอยู่ในสำนักของพระองค์ตลอด 4 เดือน (นิมนต์) ให้พักอยู่
ในพระราชอุทยาน ย่อมเสด็จไปสู่ที่บำรุงพระดาบสนั้น ทั้งเย็นทั้งเช้า.
พวกดาบสที่เหลือพักอยู่ 2-3 วัน รำคาญด้วยเสียงอึงคะนึงต่าง ๆ มีเสียง
ช้างเป็นต้น1 จึงกล่าวว่า " ท่านอาจารย์พวกกระผมรำคาญใจ, จะไปละ"
เกสวะ. จะไปไหนกัน ? พ่อ.
อันเตวาสิก. ไปสู่หิมวันตประเทศ ท่านอาจารย์.
เกสวะ. ในวันที่พวกเรามาทีเดียว พระเจ้าแผ่นดินทรงรับปฏิญญา
เพื่อประโยชน์แก่การอยู่ในที่นี้ตลอด 4 เดือน, พวกเธอจักไปเสียอย่างไร
เล่า ? พ่อ.
อันเตวาสิกกล่าวว่า "ท่านอาจารย์ไม่บอกพวกกระผมเสียก่อนแล้ว
จึงถวายปฏิญญา, พวกกระผมไม่สามารถจะอยู่ในที่นี้ได้, จักอยู่ใน
ที่ ๆ (พอ) ฟังความเป็นไปของท่านอาจารย์ได้ ซึ่งไม่ไกลจากที่นี้"
ดังนี้ พากันไหว้พระอาจารย์แล้วหลีกไป. อาจารย์คงอยู่กับอันเตวาสิก
ชื่อกัปปกะ (เท่านั้น).
พระราชาเสด็จมาสู่ที่บำรุง ตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย
ไปไหน ? " เกสวดาบสทูลว่า " มหาบพิตร พวกดาบสเหล่านั้นบอกว่า
' พวกกระผมรำคาญใจ' ดังนี้แล้ว ก็ไปสู่หิมวันตประเทศ"
กาลต่อมาไม่นานนัก แม้กัปปกดาบสก็รำคาญแล้ว แม้ถูกอาจารย์
ห้ามอยู่บ่อย ๆ ก็กล่าวว่า " ไม่อาจ " แล้วก็หลีกไป.
1. อันเสียงทั้งหลายมีเสียงช้างเป็นต้น เบียดเบียนแล้ว.

แต่กัปปกดาบสนั้น ไม่ไปสำนักของพวกดาบสนอกนี้ คอยฟังข่าว1
ของอาจารย์อยู่ในที่ไม่ไกลนัก.
ในกาลต่อมาเมื่ออาจารย์คิดถึงพวกอันเตวาสิก โรคในท้องก็เกิดขึ้น
พระราชารับสั่งให้แพทย์เยียวยา. โรคก็ไม่สงบได้. พระดาบสจึง
ทูลว่า " มหาบพิตร พระองค์ทรงพระประสงค์จะให้โรคของอาตมภาพ
สงบหรือ ?"
พระราชา ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หากว่าข้าพเจ้าอาจ, ก็พึงทำความ
ผาสุกแก่ท่าน เดี๋ยวนี้แหละ.
ดาบส. มหาบพิตร หากว่า พระองค์ทรงปรารถนาความสุขแก่
อาตมภาพไซร้, โปรดส่งอาตมภาพไปสำนักพวกอันเตวาสิกเถิด.
พระราชาทรงรับว่า "ดีล่ะ ขอรับ" แล้วให้ดาบสนั้นนอน
บนเตียงน้อย ทรงส่งอำมาตย์ (ไป) 4 นาย มีนารทอำมาตย์เป็น
หัวหน้า ด้วยรับสั่งว่า "พวกท่านทราบข้าวของพระผู้เป็นเจ้าของเรา
แล้ว พึงส่งข่าวถึงเรานะ."
กัปปกอันเตวาสิก ทราบว่าอาจารย์มา ก็ทำการต้อนรับ เมื่ออาจารย์
กล่าวว่า "พวกนอกนี้ไปอยู่ที่ไหนกัน ? " จึงเรียนว่า " ทราบว่าอยู่
ที่โน้น."
อันเตวาสิกแม้เหล่านั้น ทราบว่าอาจารย์มาแล้ว (มา) ประชุม
กัน ณ ที่นั้นนั่นแล ถวายน้ำร้อนแล้ว ได้ถวายผลาผลแก่อาจารย์.
โรคสงบแล้วในขณะนั้นเอง. พระดาบสนั้น มีวรรณะประดุจทองคำโดย
2-3 วันเท่านั้น.
1. ปวตฺตึ.

ลำดับนั้น นารทอำมาตย์ถามว่า1 :-
" ข้าแต่เกสีดาบสผู้มีโชค อย่างไรหนอ ท่านจึง
ละพระราชา ผู้เป็นจอมแห่งมนุษย์ ผู้บันดาลสมบัติ
น่าใคร่ทั้งสิ้นให้สำเร็จเสีย แล้วยินดีในอาศรมของ
กัปปกดาบส."

ท่านตอบว่า :-
" คำไพเราะชวนให้รื่นรมย์มีอยู่, รุกขชาติเป็น
ที่เพลินใจมีอยู่, ดูก่อนนารทะ คำที่กัปปกะกล่าวดี
แล้ว ย่อมให้เรายินดีได้ "

นารทอำมาตย์ถามว่า
" ท่านบริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลีอันเจือด้วยรส
เนื้อดี ๆ แล้ว, ข้าวฟ่างและลูกเดือย ซึ่งหารสเค็ม
มิได้ จะทำให้ห่านยินดีได้อย่างไร ?"

ท่านตอบว่า
" ผู้คุ้นเคยกันบริโภค2อาหารไม่อร่อยหรืออร่อย
น้อยหรือมากในที่ใด, (อาหารที่บริโภคในที่นั้นก็ให้
สำเร็จประโยชน์ได้) เพราะว่า รสทั้งหลายมีความ
คุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง."

1. ขุ. ชา. จตุกก. 27/160. อรรถกถา. 4/405.
2. ภุญฺเชยฺย ในชาดกและบาลีเป็น ภุญฺเช อรรถถาแก้เป็น ภุญฺชิ.

พระศาสดาทรงย่อชาดก


พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประมวล
ชาดก ตรัสว่า " พระราชา ในครั้งนั้น ได้เป็นโมคคัลลานะ, นารท-
อำมาตย์ ได้เป็นสารีบุตร, อันเตวาสิกชื่อกัปปกะ ได้เป็นอานนท์,
เกสวดาบส เป็นเราเอง " ดังนี้แล้ว ตรัสว่า อย่างนั้น มหาบพิตร
บัณฑิตในปางก่อน ถึงเวทนาปางตาย ได้ไปสู่ที่คนมีความคุ้นเคยกันแล้ว,
สาวกทั้งหลายของอาตมภาพ ชะรอยจะไม่ได้ความคุ้นเคยในสำนักของ
พระองค์."

พระราชาทรงส่งสาสน์ไปขอธิดาเจ้าศากยะ


พระราชาทรงดำริว่า เราควรจะทำความคุ้นเคยกับภิกษุสงฆ์,
เราจักทำอย่างไรหนอ ?" ดังนี้แล้ว ทรงดำริ ( อีก ) ว่า "ควรทำ
พระธิดาแห่งพระญาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไว้ในพระราชมนเฑียร,
เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกภิกษุหนุ่มและพวกสามเณร ( ก็จะ) คุ้นเคยแล้วมา
ยังสำนักของเราเป็นนิตย์ ด้วยคิดว่า "พระราชาเป็นพระญาติของพระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้า" ดังนี้ ส่งพระราชสาสน์ไปสำนักเจ้าศากยะทั้งหลายว่า
" ขอเจ้าศากยะทั้งหลาย จงประทานพระธิดาคนหนึ่ง แก่หม่อมฉัน,"
แล้วรับสั่งบังคับทูตทั้งหลายว่า "พวกท่านพึงถามว่า 'เป็นพระธิดา
แห่งเจ้าศากยะองค์ไหน ?' แล้ว ( จึง ) มา."

เจ้าศากยะให้ธิดานางทาสีแก่พระเจ้าปเสนทิ


พวกทูตไปแล้ว ทูลขอเจ้าหญิง (คนหนึ่ง ) กะเจ้าศากยะทั้งหลาย
เจ้าศากยะเหล่านั้นประชุมกันแล้ว ทรงดำริว่า พระราชาเป็นฝักฝ่ายอื่น;